ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu

กระทู้ล่าสุด

#11
เครื่องมืออุตสาหกรรม มือสอง Used Tools / คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) แล...
กระทู้ล่าสุด โดย myponpe - ก.ย 23, 2023, 11:49 ก่อนเที่ยง
คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) และคลอรีนตกค้าง (Combined Chlorine)
       
ความรู้เกี่ยวกับ คลอรีน

              เมื่อใดก็ตามแต่ที่ท่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำกลั่นที่บริสุทธิ์มาก ๆ แล้วคลอรีนที่ท่านเติมลงไปในน้ำถ้าท่านนำน้ำนั้นมาวัดจะได้เท่ากับคลอรีนที่ท่านเติมลงไปพอดีแต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำธรรมดา ๆ เช่นแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ น้ำในระบบประปา ฯลฯแล้วคลอรีนที่
เติมลงไปจะถูกทำปฏิกิริยากับสารเคมี สารชีวภาพจุลินทรีย์ในน้ำนั้น เหตุเป็นเพราะน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะไม่สะอาดจึงทำให้คลอรีนที่เติมลงไปทำปฏิกิริยากับสิ่งเหล่านี้โดยสามารถแบ่งการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนที่เติมลงไปในน้ำได้เป็นสามส่วนด้วยกัน คือ ประการแรกสุด(ดูที่ชาร์ต) คลอรีน
ส่วนหนึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีสารชีวภาพเกิดการฆ่าเชื้อภายในเวลาอันรวดเร็วตรงจุดนี้จะเรียกว่า(chlorine demand)  หรือความต้องการคลอรีน
ของน้ำดิบบริสุทธิ์


        ประการที่สอง คลอรีนที่เหลืออยู่ตรงนี้เราจะเรียกว่า Total Chlorine หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าคลอรีนรวมคลอรีนรวมส่วนหนึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมี หรือสารชีวภาพในน้ำคลอรีนในจุดนี้เรียกว่า Combine Chlorine(ดูชาร์จครับ)เพราะโดยทั่วไปแล้วการที่มนุษย์ใส่คลอรีนลงไปในระบบเจตนาก็เพื่อเป็นการรักษาสมดุลความสะอาดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อน้ำให้เกิดความสะอาดเชื้อโรคบางอย่างที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์
เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคอันทำให้เกิดท้องร่วงจะถูกคลอรีนในส่วนนี้จับและทำปฏิกิริยาคลอรีนที่จับและทำปฏิกิริยากับเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตรงจุดนี้แล้วบางครั้งเรียกกันว่า chloramines

          ประการสุดท้ายคลอรีนที่เหลืออยู่จากการทำปฏิกิริยาจะหลงเหลืออย่างอิสระในน้ำ ตรงนี้จะเรียกว่า Free chlorine(ดูที่ชาร์ต)หรือ
คลอรีนอิสระซึ่งคลอรีนอิสระนี้เป็นค่าที่ถูกกำหนดไว้โดยหน่วยงานต่างๆ ที่ควบคุมคุณภาพของน้ำครับว่าควรจะมีคลอรีนอิสระหลงเหลืออยู่ในน้ำไม่น้อยกว่าเท่าไรจึงจะถือได้ว่าน้ำนั้นมี คุณภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการใช้โดยเฉพาะคลอรีนอิสระนี้แล้วโดยส่วนใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ท่านจะต้องทราบในกรณีที่น้ำนั้นถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม น้ำกินหรือน้ำที่จะต้องเข้าไปในร่างกายมนุษย์ คลอรีนอิสระที่หลงเหลือในน้ำนั้นทำหน้าที่ โดยจะคอยดักจับกับสารแปลกปลอม เชื้อโรค สารอินทรีย์ที่เพิ่มเติมเข้ามาในระบบด้วยเหตุอันใดก็ตามแต่เพื่อเป็นการดักจับเชื้อโรค สารชีวะอินทรีย์และทำความสะอาดน้ำนั้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย

          สรุปก็คือท่านจำเป็นต้องทราบค่าคลอรีนอิสระเสมอ
เพราะหากว่าค่าคลอรีนอิสระที่หลงเหลือในระบบน้อยเกินเหตุหรือน้อยจนวัดกันไม่ได้มันอาจจะหมายถึงว่าคลอรีนที่ท่านเติมลงไปในระบบไม่เพียงพอหรือน้อยจนหมิ่นเหม่ที่จะทำปฏิกิริยากับสาร จุลชีวะต่าง ๆ ในน้ำให้สะอาดได้หรือว่าไม่หลงเหลือคลอรีนเลยที่จะใช้กำจัดเชื้อโรคได้ซึ่งก็คือทำให้น้ำนั้นไม่ปลอดภัยที่จะมาใช้บริโภคนั่นเองซึ่งค่าคลอรีนอิสระนี้ คือสิ่งที่เป็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ขององค์กรหน่วยงานที่มีผล ให้ควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ ในกรณีที่น้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์มีปริมาณคลอรีนอิสระที่หลงเหลืออยู่มากเกินขีดหรือน้อยจนเกินไปในกรณีที่ท่านจะตรวจวัดหาค่าคลอรีนในน้ำนอกจากว่าท่านจะวัดค่าคลอรีนอิสระแล้วแต่การตรวจวัดน้ำนั้นท่านก็ยังสามารถตรวจวัดคลอรีนรวม ได้ด้วย
 


         




#12
จะเลือกเครื่องวัด PH อย่างไรดี ?
ในปัจจุบันการตรวจวัดค่า PH มีประโยชน์มากมายในด้านการสร้างและควบคุมผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น งานด้านอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง จนรวมไปถึงวงการทางแพทย์ การเกษตร  และมีความจำเป็นอย่างมากในงานด้านอุตสาหกรรม งานควบคุมคุณภาพ ระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด... เครื่องวัด PH มีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นหลายยี่ห้อ มีให้เลือกทั้ง แบบปากกา แบบพกพา แบบตั้งโต๊ะ และแบบติดตั้ง... มีให้เลือกมากมายแล้วจะเลือกอย่างไรดี?

การเลือกใช้เครื่องวัดPH สิ่งสำคัญที่ควรคำนึง คือ เลือกให้ตรงตามคุณสมบัติที่ใช้งาน และเหมาะสมกับงานที่ใช้
เครื่องวัด PH แบบปากกา


เครื่องวัด PH แบบปากกา ปากกาวัด PH จะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก เหมาะสำหรับพกพาไปนอกสถานที่ และเหมาะใช้งานกับการเก็บตัวอย่างมาวัด เช่น  วัดน้ำตัวอย่างที่อยู่ในบีกเกอร์  วัดในน้ำดื่ม วัดในสระว่ายน้ำ ซึ่งแบบปากกาจะมีราคาตั้งแต่หลักร้อย ถึงหลักพัน ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของตัวเครื่อง และฟังชั่นการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฟังชั่น ATC (Automatic Temperature Compensation) การชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ ที่ดูแลผลกระทบของอุณหภูมิในระบบ PH โดยอัตโนมัติ หรือจะเป็นการเปลี่ยนเซนเซอร์ได้ในกรณีที่หัววัดเสีย โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่

เครื่องวัด PH แบบพกพา


เครื่องวัด PH แบบพกพา ตัวเครื่องจะประกอบไปด้วยสายโพรบวัด ซึ่ง 2 ส่วนนี้จะแยกกัน โดยแบบพกพาจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบปากกา แต่รูปแบบนี้ก็ยังคงเหมาะแก่การพกพา การใช้ในงาน outdoor ออกภาคสนาม ให้ผลการวัดที่รวดเร็ว  มีความแม่นยำสูง โดยลักษณะงานที่ใช้จะประกอบไปด้วย งานอุตสาหกรรมต่างๆ  วัดในบ่อเลี้ยงปลา วัดในการเกษตร และวัดในงานที่เราไม่สามารถเก็บตัวอย่างมาวัดได้ แบบพกพาจะสะดวกโดยการที่นำสายโพรบหย่อนวัด และอ่านค่าจากตัวเครื่องได้เลย


เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะ




เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะ ด้วยลักษณะของตัวเครื่องที่เป็นแบบตั้งโต๊ะ ประเภทนี้จึงเหมาะใช้งานในห้องปฏิบัติการ หรือห้องทดลอง โดยตัวเครื่องจะมีฟังชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บบันทึกข้อมูล เพื่อเชื่อมต่อดูข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์ ฟังชั่น ATC  ฟังชั่น hold เครื่องวัด PH แบบตั้งโต๊ะจะมีความแม่นยำสูง เพราะส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัย งานควบคุมคุณภาพ  งานอุตสาหกรรมที่มีการเก็บตัวอย่างมาทดลองในห้อง lab

เครื่องวัด PH แบบติดตั้ง




PH Controller หรือ เครื่องวัด PH แบบติดตั้ง จะแตกต่างกับ PH METER ตัวอื่น นอกจากจะเน้นวัดและแสดงผลแล้ว ตัวเครื่องยังสามารถตั้งค่าระดับสูง-ต่ำ และมี Output แจ้งเตือนเพื่อส่งสัญญาณและสั่งการทำงานปั๊มให้ดูดจ่ายของเหลวหรือเคมีเพื่อควบคุมระดับค่า PH ให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ซึ่งจะเหมาะใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆที่ต้องการควบคุมค่า PH  รวมไปถึงงานทางด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็น ใช้งานในฟาร์ม แหล่งเพาะพันธ์ปลา หรืออื่น ๆ

 ***การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) ***

  เพื่อให้การวัดมีความแม่นยำจะต้องทำการปรับเทียบค่า pH ก่อนใช้งานตัวเครื่อง โดยจะใช้สารละลายบัฟเฟอร์ที่แตกต่างกันด้วยค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ในการปรับเทียบเครื่อง ประกอบไปด้วย pH 7.00 pH 4.01 pH 10.00

      ***การดูแลรักษาเครื่องวัด PH***

  หลังจากใช้งานเสร็จควรแกว่งล้างด้วยน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด หลังจากนั้นควรเก็บปลายอิเล็คโทรดโดยการเติมสารละลาย KCL ลงในฝาก่อนปิด และการเก็บอิเล็คโทรดห้ามเก็บแห้ง เพื่อยืดอายุการใช้งาน