คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) และคลอรีนตกค้าง (Combined Chlorine)

เริ่มโดย myponpe, ก.ย 23, 2023, 11:49 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

myponpe

คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) และคลอรีนตกค้าง (Combined Chlorine)
       
ความรู้เกี่ยวกับ คลอรีน

              เมื่อใดก็ตามแต่ที่ท่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำกลั่นที่บริสุทธิ์มาก ๆ แล้วคลอรีนที่ท่านเติมลงไปในน้ำถ้าท่านนำน้ำนั้นมาวัดจะได้เท่ากับคลอรีนที่ท่านเติมลงไปพอดีแต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านเติมคลอรีนลงไปในน้ำธรรมดา ๆ เช่นแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ น้ำในระบบประปา ฯลฯแล้วคลอรีนที่
เติมลงไปจะถูกทำปฏิกิริยากับสารเคมี สารชีวภาพจุลินทรีย์ในน้ำนั้น เหตุเป็นเพราะน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะไม่สะอาดจึงทำให้คลอรีนที่เติมลงไปทำปฏิกิริยากับสิ่งเหล่านี้โดยสามารถแบ่งการทำปฏิกิริยาระหว่างคลอรีนที่เติมลงไปในน้ำได้เป็นสามส่วนด้วยกัน คือ ประการแรกสุด(ดูที่ชาร์ต) คลอรีน
ส่วนหนึ่งจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีสารชีวภาพเกิดการฆ่าเชื้อภายในเวลาอันรวดเร็วตรงจุดนี้จะเรียกว่า(chlorine demand)  หรือความต้องการคลอรีน
ของน้ำดิบบริสุทธิ์


        ประการที่สอง คลอรีนที่เหลืออยู่ตรงนี้เราจะเรียกว่า Total Chlorine หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าคลอรีนรวมคลอรีนรวมส่วนหนึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารเคมี หรือสารชีวภาพในน้ำคลอรีนในจุดนี้เรียกว่า Combine Chlorine(ดูชาร์จครับ)เพราะโดยทั่วไปแล้วการที่มนุษย์ใส่คลอรีนลงไปในระบบเจตนาก็เพื่อเป็นการรักษาสมดุลความสะอาดเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อน้ำให้เกิดความสะอาดเชื้อโรคบางอย่างที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของมนุษย์
เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคอันทำให้เกิดท้องร่วงจะถูกคลอรีนในส่วนนี้จับและทำปฏิกิริยาคลอรีนที่จับและทำปฏิกิริยากับเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกตรงจุดนี้แล้วบางครั้งเรียกกันว่า chloramines

          ประการสุดท้ายคลอรีนที่เหลืออยู่จากการทำปฏิกิริยาจะหลงเหลืออย่างอิสระในน้ำ ตรงนี้จะเรียกว่า Free chlorine(ดูที่ชาร์ต)หรือ
คลอรีนอิสระซึ่งคลอรีนอิสระนี้เป็นค่าที่ถูกกำหนดไว้โดยหน่วยงานต่างๆ ที่ควบคุมคุณภาพของน้ำครับว่าควรจะมีคลอรีนอิสระหลงเหลืออยู่ในน้ำไม่น้อยกว่าเท่าไรจึงจะถือได้ว่าน้ำนั้นมี คุณภาพอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการใช้โดยเฉพาะคลอรีนอิสระนี้แล้วโดยส่วนใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ท่านจะต้องทราบในกรณีที่น้ำนั้นถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม น้ำกินหรือน้ำที่จะต้องเข้าไปในร่างกายมนุษย์ คลอรีนอิสระที่หลงเหลือในน้ำนั้นทำหน้าที่ โดยจะคอยดักจับกับสารแปลกปลอม เชื้อโรค สารอินทรีย์ที่เพิ่มเติมเข้ามาในระบบด้วยเหตุอันใดก็ตามแต่เพื่อเป็นการดักจับเชื้อโรค สารชีวะอินทรีย์และทำความสะอาดน้ำนั้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย

          สรุปก็คือท่านจำเป็นต้องทราบค่าคลอรีนอิสระเสมอ
เพราะหากว่าค่าคลอรีนอิสระที่หลงเหลือในระบบน้อยเกินเหตุหรือน้อยจนวัดกันไม่ได้มันอาจจะหมายถึงว่าคลอรีนที่ท่านเติมลงไปในระบบไม่เพียงพอหรือน้อยจนหมิ่นเหม่ที่จะทำปฏิกิริยากับสาร จุลชีวะต่าง ๆ ในน้ำให้สะอาดได้หรือว่าไม่หลงเหลือคลอรีนเลยที่จะใช้กำจัดเชื้อโรคได้ซึ่งก็คือทำให้น้ำนั้นไม่ปลอดภัยที่จะมาใช้บริโภคนั่นเองซึ่งค่าคลอรีนอิสระนี้ คือสิ่งที่เป็นข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ขององค์กรหน่วยงานที่มีผล ให้ควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ ในกรณีที่น้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์มีปริมาณคลอรีนอิสระที่หลงเหลืออยู่มากเกินขีดหรือน้อยจนเกินไปในกรณีที่ท่านจะตรวจวัดหาค่าคลอรีนในน้ำนอกจากว่าท่านจะวัดค่าคลอรีนอิสระแล้วแต่การตรวจวัดน้ำนั้นท่านก็ยังสามารถตรวจวัดคลอรีนรวม ได้ด้วย